วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติ โอดะ โนบุนางะ

          ญีปุ่นในช่วงปี ค.ศ. 1500 - 1700 เกิดสงครามครั้งใหญ่ ทำให้ประเทศชาติมีแต่ความหายนะ อำนาจของ โชกุน ผู้ปกครอบประเทศถูกแก่งแย่งชิงอำนาจซึ่งกันและกัน ทำให้โชกุนในสมัยนั้นคือ "ตระกูลอาชิคางา" ถูกแย่งชิงอำนาจการปกครอง ทำให้บรรดาไดเมียวทั้งหลายที่ปกครองหัวเมืองต่าง ๆ พากันกระด้างกระเดื่อง ประกาศตั้งตนเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับการปกครองของโชกุนทำให้ญี่ปุ่นในยุคสมัยนั้นก้าวเข้าสู่สภาวะ สงครามกลางเมือง ของประเทศญี่ปุ่น ที่มีระยะเวลายาวนานกว่า 200ปี ในยุคเซงโงกุ ในช่วงมืดของญี่ปุ่นได้มีขุนพลนักรบผู้หนึ่งเป็นผู้ผลิกผันโฉมหน้า ประวัติศาสตร์ ของญี่ปุ่น โอดะ โนะบุนะงะ ก้าวขึ้นมามีอำนาจเหนือสุด เป็นผู้คุมประเทศญี่ปุ่นที่อยู่ในช่วงระหว่างสงคราม
     
            โอดะ โนะบุนะงะ เป็นบุตรชายของเจ้าเมืองโอวาริ โอดะ โนบุฮิเดะ ในปี ค.ศ. 1534 มีนามเดิมว่า โอดะ คิปโปชิ เป็นบุตรชายคนรองของตระกูล ได้ปกครองเมืองโอวาริต่อจากบิดา ควบคุมและปราบบรรดาญาติผู้ใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้เขาขึ้นครอบครองเมืองต่อจากบิดา ซึ่งทางน้องชายโอดะ โนบุยูกิ ได้วางแผนก่อกบฏขึ้นหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ โอดะ โนบุนากะ ได้วางแผนแกล้งว่าป่วยไปทางนายทหารคนสนิท ซึ่งทาง โนบุยูกิ หลงเชื่อ จึงได้เข้าไปเยี่ยมเเล้ว โดนลอบสังหารที่ปราสาทคิโยสุ ของโนบุนากะ จึงทำให้โอดะ โนบุนากะ ได้ครองเเคว้นโอวาริ ในปี ค.ศ. 1559 ในปี ค.ศ. 1560 อิมากาว่า โยชิโมโต ไดเมียว ผู้ครองเมืองมิคาวา นำกองกำลังทหารจำนวนมากเข้าบุกโจมตีเมืองโอวาริ แต่ถูกโนะบุนะงะตีกองทัพแตกกระจายและชัยชนะในการทำศึกครั้งนั้น ทำให้ชื่อเสียงของโนะบุนะงะลือกระฉ่อนไปทั่วแผ่นดิน และในปี ค.ศ. 1560 โอดะ โนะบุนะงะได้ผูกสัมพันธ์กับไดเมียวในตระกูลต่าง ๆ และยกกองกำลังของตนเข้าทำ สงคราม กับไดเมียวที่ไม่ยอมผู้สัมพันธ์ด้วย จนได้รับชัยชนะ ในปี ค.ศ. 1567 เพื่อช่วยให้พระองค์รอดพ้นจากอำนาจของตระกูลอาชิคางา และช่วยคืนอำนาจการปกครองให้แก่พระองค์หลังจากได้รับการร้องขอจากองค์จักรพรรดิ์ โนะบุนะงะยอมเข้าช่วยเหลือโดยการยกกองกำลังโจมตี เมืองหลวง ขององค์จักรพรรดิ์ จับกุมตัวโชกุน อาชิคางา โยชิอากิ และบีบบังคับให้เป็นหุ่นเชิดของตนเอง ซึ่งจากความดีความชอบในครั้งนั้น ทำให้องค์จักรพรรดิ์พระราชทานรางวัลให้แก่โนะบุนะงะ แต่งตั้งให้เขาเป็น ไนไดจิน หรือเอกอัครมหาเสนาบดี มีอำนาจเป็นอย่างมาก โนะบุนะงะเป็นไนไดจิน จนถึงปี ค.ศ. 1573 อาชิคางา โยชิอากิ หุ่นเชิดของโนะบุนะงะคิดกระด้างกระเดื่อง ทรยศต่อโนะบุนะงะ จึงถูกจับตัวมาลงโทษและขับไล่ออกจากเมืองหลวง เป็นอันสิ้นสุดอำนาจการปกครองภายใต้การปกครองของโชกุน อาชิคางา โยชิอากิ ที่ปกครองประเทศญี่ปุ่นมายาวนานกว่า 200 ปี
      
          โนะบุนะงะเป็นผู้เริ่มก่อตั้ง "กองกำลังทหารอาชิคารุ" ซึ่งมาจากบรรดาชาวบ้านธรรมดาที่อยากมีส่วนร่วมกับบ้านเมืองในการทำสงคราม ให้โอกาสผู้ที่อยากเป็นทหารแต่ไม่มีโอกาสได้เป็น ซึ่งจะแตกต่างจากไดเมียวคนอื่น ๆ กองกำลังของโนะบุนะงะจึงเป็นกองทัพที่มาจากชาวบ้านธรรมดา ไม่เหมือนกองกำลังอื่น ๆ ของไดเมียวที่มีแต่ ซามูไร จำนวนมาก กองกำลังอาชิคารุ แม้จะมาจากชาวบ้านธรรมดา แต่ทว่าพวกเขามาด้วยใจที่รักบ้านเมือง แตกต่างจากซามูไรที่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเองกองกำลังอาชิคารุนั้น ก็มีศักยภาพในการทำสงครามไม่แพ้พวกซามูไร แต่ก็แตกต่างกับซามูไรผู้มีเกียรติและศักดิ์ศรีเป็นที่ตั้ง ที่ยอมพลีชีพในสงครามอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี ถ้าถูกจับตัวได้จะไม่มีการซัดทอดโดยเด็ดขาด ยอมแม้แต่จะ ฮาราคีรี ตัวเองเพื่อไม่ต้องตายโดยน้ำมือผู้อื่น กองกำลังอาชิคารุอาจจะพ่ายแพ้ สงคราม บ้างในครั้งคราวเพราะความกลัวตาย ทำให้โนะบุนะงะต้องวางแผนในการทำสงครามใหญ่ ในระหว่างนั้นมีชาว โปรตุเกส เข้ามาติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่น และเผยแผ่ ศาสนาคริสต์ และ ปืน อาวุธที่ชางโปรตุเกสนำมาด้วย หลังจากได้ศึกษาปืนของชาวโปรตุเกสแล้ว โนะบุนะงะมองเห็นว่าอาวุธชนิดนี้สามารถสร้างกองกำลังที่แข็งแกร่งให้แก่ตนได้ ในปี ค.ศ. 1544 โนะบุนะงะก็สั่งให้ช่างชาวญี่ปุ่นแกะและสร้างปืนตามแบบฉบับของชาวโปรตุเกส โดยก่อตั้งโรงงานผลิตอาวุธขึ้น สั่งให้ช่างชาวญี่ปุ่นผลิตปืนขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อไดเมียวทั้งหลาย เห็นศักยภาพอาวุธปืนของโอดะ ต่างพากันหันมาเปลี่ยนอาวุธจากเดิมคือ ดาบ หรือ ธนู, ธนูเพลิง มาเป็นอาวุธปืนเช่นเดียวกับโนะบุนะงะแทบทั้งสิ้น เพราะอาวุธปืนนั้นสามารถฝึกฝนการใช้งานได้อย่างง่าย ไม่เหมือนกับดาบหรือธนูที่ต้องใช้ระยะเวลาฝึกฝนอย่างยาวนาน แม้นศัตรูอย่าง อาชิคางา โยชิอากิ อดีตโชกุนผู้เป็นหุ่นเชิดของโนะบุนะงะจะถูกกำจัดไปแล้ว แต่โนะบุนะงะกลับยังมีศัตรูจำนวนมากที่เป็นปรปักษ์กับเขา หนึ่งในศัตรูตัวฉกาจของเขาคือ พระ นักพรต และ นักรบ พระนักรบและนักพรตจำนวนมาก ต่อต้านและท้าทายอำนาจของโนะบุนะงะ เขาทำ สงคราม กวาดล้างพระนักรบหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งการรบกันระหว่างพระนักรบและโนะบุนะงะครั้งที่สำคัญที่สุดคือ การบุกเข้าทำลายล้าง สำนักสงฆ์ ของพระนักรบบนเทือกเขาฮิเออัน ซึ่งเป็นสถานที่พระพุทธสถานที่เก่าแก่ มีอายุหลายพันปี ในการทำสงครามกวาดล้างสำนักสงฆ์ของ อิคโค อิกิ โนะบุนะงะสั่งการให้กองกำลังทหารจำนวนมากกว่า 30,000 นาย เข้าโอบล้อมเทือกเขาฮิเออันก่อนจะตีโอบตะลุยขึ้นไปยังวัดซากาโมโตะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ของ อิคโค อิกิ และเป็นจุดศูนย์กลางคากะ สั่งการให้กองกำลังทหารจำนวนมากกว่า 30,000 นาย เข้าโอบล้อมเทือกเขาฮิเออันก่อนจะตีโอบตะลุยขึ้นไปยังวัดซากาโมโตะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ของ อิคโค อิกิ และเป็นจุดศูนย์กลางของพระนักรบ และการกวาดล้างพระนักรบในครั้งนี้เองที่โนะบุนะงะได้แสดงความโหดร้ายออกมาอย่างชัดเจน เขาออกคำสั่งให้ฆ่าทุกคนที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาฮิเออันจนหมดสิ้น ไม่เว้นแม้แต่ผู้หญิงหรือเด็กทารก สั่งให้กองกำลังทหารของตน เผาทำลายบ้านเรือนทุกหลังจนวอดวาย แลคำสั่งให้กองกำลังทหารของเขาบุกโจมตีพระพุทธสถานแห่งอื่น ๆ ที่มีทีท่าว่าจะก่อการกบฎต่อเขา จากการทำสงครามกับสำนักสงฆ์ โนะบุนะงะได้แสดงความเหี้ยมโหดออกมาอย่างชัดเจน ยิ่งทำให้ชื่อเสียงของเขากระฉ่อนไปทั่ว ถึงกระนั้นโนะบุนะงะก็ยังคงเป็นขุนพลนักรบที่มีวัสัยทัศน์กว้างไกล เขาไม่ได้ทำลายเมืองซาไก ซึ่งเป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่น นอกจากไม่ทำลายแล้วยังยื่นมือเข้าช่วยเหลือแก่บรรดาพ่อค้า แม่ค้าที่ประกอบการค้าขายรายใหญ่ ๆ ของเมืองซาไก เขาวางรากฐานของการค้าและเศรษฐกิจอย่างดี โดยให้สิทธิพิเศษแก่พ่อค้าแม่ค้าในด้านภาษีอากร ควบคุมการชั่ง การตวง และวัดสิ่งของให้ได้ตามระบบมาตรฐานของประเทศ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นในขณะนั้นไม่ได้มีแต่ด้านมืดด้านเดียวอย่างที่ควรจะเป็น โอดะ โนบุนากะ อาจจะดูโหดร้าย สร้างศัตรูไว้มากมาย แต่เขาก็ยังสามารถยืนหยัดต่อสู้มาอย่างโชกโชน จวบจนวาระสุดท้ายของเขา ก่อนที่จะจบชีวิตลงด้วยน้ำมือของคนสนิทของเขาเอง อาเคจิ มัตสึฮิเดะอิอิ โนะบุนะงะครองอำนาจในสมัยเอโดะยาวนานกว่า 48 ปี ก็ถึงคราวสูญสิ้นอำนาจ โดยถูก อาเคจิ มิตสึฮิเดะ นายทหารแม่ทัพคนสนิทของ โอดะ โนบุนากะ เป็นผู้สังหารเนื่องจากได้รับความอับอายจากโนะบุนะงะต่อหน้านายทหาร ในปี ค.ศ. 1582 เกิดสงครามที่คิวชู โนะบุนะงะจึงส่งกองกำลังทหารจาก เกียวโต ไปทำ สงครามระหว่างทาง อาเคจิ มิตสึฮิเดะ ได้ตลบหลัง โอดะ โนบุนากะ นำกำลังทหารของตนเองย้อนกลับมายังปราสาทอาชิซึ เพื่อล้างแค้นความอับอายขายหน้าที่ โนะบุนะงะได้สร้างไว้แก่ตนอาเคจิ มิตสึฮิเดะ คุมกองกำลังทหารจำนวนมาก เข้าตีโอบล้อมโนะบุนะงะ ที่เดินทางออกจากปราสาทอชิซึ ไปพักอยู่ที่วัดฮอนโน จากการถูกตลบย้อนหลังด้วยนายทหารคนสนิท ทำให้โนะบุนะงะโกรธแค้นและด้วยศักดิ์ศรีของโนะบุนะงะยอมทำ ฮาราคีรี หรือการคว้านท้องตนเองเพื่อไม่ให้ชีวิตของตนต้องถูกผู้อื่นประหาร เป็นการปิดฉากนักรบผู้เป็นตำนานของญี่ปุ่นอย่างสมศักดิ์ศรี อาเคจิ มิตสึฮิเดะ นำกองกำลังทหารย้อนกลับไปยังปราสาทนิโจซึ่ง โอดะ โนบุทาดะ ผู้เป็นบุตรชายของโนะบุนะงะครอบครองอยู่ และบุกทำลายล้างปราสาทนิโจก่อนจะสังหารโนบุทาดะ เสียชีวิต สิ้นสุดการปกครองอำนาจของตระกูล โอดะ ที่ยังไม่สามารถปฏิบัติภารกิจสำคัญในการรวบรวมประเทศญี่ปุ่น หลังจากล้มล้างทำลายตระกูลโอดะ สำเร็จแล้ว อาเคจิ มิตสึฮิเดะ ก็ถูกลอบสังหารเช่นเดียวกันที่เมืองยามาซากิ จากกองกำลังทหารและนักรบซามูไรของตระกูลโอดะ โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ นายทหารคนสนิทของโนะบุนะงะอีกคนที่นำกองกำลัง ทหาร มาล้างแค้นให้แก่นายของเขา ก่อนจะเป็นผู้รวบรวมประเทศญี่ปุ่นต่อจากโนะบุนะงะ

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติของโจโฉ

       ในวรรณคดีเรื่องสามก๊กบางสำนวน โจโฉได้รับการบรรยายให้เป็นกษัตริย์ที่โหดเหี้ยมและทะเยอทยาน แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว โจโฉเป็นผู้ปกครองที่สามารถ นักการทหารที่ชาญฉลาด และยังเป็นกวีอีกด้วย ในสามก๊ก โจโฉแม้จะเป็นคนโหดเหี้ยม เจ้าเล่ห์ แต่ก็หาใช่ว่าเป็นคนไร้เหตุผล ตรงกันข้ามยังเป็นคนผูกใจคนเก่ง ชอบใช้คนมีความสามารถ รู้จักใช้คน บริหารจัดการเก่ง มีความเป็นผู้นำสูง และออกอุบายวางแผนได้ด้วยตนเอง ซึ่งหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้กล่าวว่า "ยิ่งอ่าน ยิ่งรักน้ำใจโจโฉ" และเป็นที่ของหนังสือที่ชื่อ โจโฉ นายกฯตลอดกาล ที่ว่าด้วยการมองโจโฉในอีกแง่ และให้ฝ่ายจ๊กก๊ก ของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย เป็นตัวร้ายแทน........
ประวัติการสงครามของโจโฉ
       เริ่มต้น โดยเป็นหนึ่งในแม่ทัพของฝ่ายราชวงศ์ฮั่นที่ออกปราบกบฏโจรโพกผ้าเหลืองซึ่งมี "เตียวก๊ก" เป็นหัวหน้า ซึ่งมี พระเจ้าเลนเต้เป็นจักรพรรดิ โจโฉ มีชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ เป็นบุตรของโจโก๋ อดีตข้าหลวงในวัง เดิมมิได้แซ่ "โจ" แต่แซ่ "แฮหัว" โจโฉในวัยเด็กเป็นคนไม่เอาไหน มีรูปร่างเล็ก หนวดยาว ฉลาดแบบเจ้าเล่ห์ เก่งในการเอาตัวรอด เชี่ยวชาญตำราพิชัยสงคราม แต่ก็ชื่นชอบในศิลปะ อุปนิสัยรอบคอบ โจโฉได้รับความดีความชอบในการปราบโจรโพกผ้าเหลือง แต่ท้ายสุดถูกหักหลัง ต่อมาเมื่อตั๋งโต๊ะเป็นใหญ่ โจโฉก็ร่วมมือกับเจ้าเมือง 18 หัวเมืองตั้งเป็น "กองทัพสิบแปดหัวเมือง" โดยมี อ้วนเสี้ยวเป้นแม่ทัพใหญ่ ปราบตั๋งโต๊ะ ระหว่างหลบหนีจากการผิดพลาดในการสังหารตั๋งโต๊ะ โจโฉได้พบกับนายอำเภอคนหนึ่งชื่อ ตันก๋ง ระหว่างพักค้างแรม โจโฉได้สังหารแป๊ะเฉีย และคนในครอบครัว ด้วยเข้าใจผิดในความปรารถนาดีของแป๊ะเฉียที่จะฆ่าหมูมาเลี้ยง ความโหดเหี้ยมของโจโฉจึงปรากฏในตอนนี้ โจโฉได้กล่าววาจาที่แสดงถึงตัวตนของเขาได้ชัดเจนว่า "ข้ายอมทรยศคนทั้งโลก แต่ไม่ยอมให้ใครทรยศข้า" เมื่อโจโฉตั้งตัวได้ ก็กล้าที่จะปลอมราชโองการ กล้าที่จะแอบอ้างราชโองการเพื่อที่จะกำจัดฝ่ายตรงข้าม ทำให้ในที่สุด โจโฉได้รับการสถาปนาเป็นสมุหนายก หลังจากนั้น ก็ มหาอุปราช(ไจเสี่ยง) มีอำนาจสามารถสั่งการแทนฮ่องเต้ ทำให้มีอำนาจล้นฟ้า ไม่มีใครที่จะคานอำนาจ จึงกล้าถึงขนาดทดสอบบารมีของพระเจ้าเหี้ยนเต้ด้วย จนพระเจ้าเหี้ยนเต้ต้องแอบเขียนหนังสือลับด้วยโลหิตตนเองถึงเล่าปี่ ให้จัดการกับโจโฉที่ทำตนเป็นตั๋งโต๊ะอีกคน

        โจโฉ ได้ครองเมืองลกเอี๋ยง ซึ่งเป็นเมืองหลวง ทำให้แคว้นวุยก๊กของเขาเป็นแคว้นที่ใหญ่ที่สุด มีไพร่พลมากที่สุด มีบุคลากรมากที่สุด มั่งคั่งและอุดมสมบูรณ์มากที่สุด โจโฉเป็นคนที่หลงมัวเมาในอำนาจและกิเลสตัณหาต่าง ๆ มักมากในกาม มีภรรยาและสนมมากมาย สมัยรุ่งเรือง โจโฉได้สร้างตำหนักของตนชื่อว่า "นกยูงทองแดง" โจโฉเป็นคนรอบคอบเสียจนกลายเป็นขี้ระแวง ได้สั่งประหารบุคคลสำคัญไปหลายคน ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความผิด เพราะความขี้ระแวงของตน และเมื่อสำนึกได้ ก็มักมาเสียใจในภายหลัง
       โจโฉ มีภรรยา 3 คน กับภรรยาคนแรกไม่มีบุตร ภรรยาคนที่สอง มีบุตรเพียงคนเดียวเป็นชาย ชื่อ โจงั่ง ตายเมื่อครั้งสงครามกับอ้วนเสี้ยว กับภรรยาคนที่สาม คือ นางเปียนสี มีบุตรชายทั้งหมด 4 คน คือ โจผี โจเจียง โจสิด และ โจหิน ซึ่งโจโฉรักภรรยาคนนี้มาก ยกให้เป็นภรรยาหลวง
โจโฉ ในบั้นปลายชีวิต ป่วยเป็นโรคประสาท มักปวดหัวอยู่เสมอ ๆ เมื่อหมอฮูโต๋หมอชื่อดังแห่งยุคมารักษา หมอฮูโต๋ได้เสนอให้ผ่าศีรษะ ซึ่งก็คือการผ่าตัด ถือว่าเป็นวิทยาการทางการแพทย์ที่ล้ำสมัยมาก แต่โจโฉไม่เข้าใจ หาว่าคนจะผ่าศีรษะโดยไม่ตายได้อย่างไร จึงพาลจองจำหมอฮูโต๋ในคุก เมื่ออาการหนักขึ้นก็เห็นภาพหลอน ก่อนตาย โจโฉเห็นหัวที่ถูกตัดแล้วของกวนอูลืมตาขึ้นได้ จึงละเมอว่ากวนอูจะมาเอาชีวิต โจโฉสิ้นชีวิตเมื่ออายุได้ 66 ปี (บ้างก็ว่าโจโฉตายด้วยโรคกามโรค) และภายหลังการสิ้นของโจโฉ โจผี ลูกชายคนรองก็ขึ้นมา และถอดพระเจ้าเหี้ยนเต้ออกจากตำแหน่ง และสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าโจผี ราชวงศ์วุย และยกย่องโจโฉบิดาของตนขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์วุย